
การรับรู้รายได้
28 พฤศจิกายน 2566
นักบัญชีควรรับรู้รายได้ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์บัญชี โดยแบ่งออกเป็น 1. ธุรกิจขายสินค้า และ 2. ธุรกิจบริการ มีรายละเอียดดังนี้
การรับรู้รายได้ของธุรกิจขายสินค้าธุรกิจ | |
ประเภทการขาย | รับรู้รายได้ |
1. การขายสินค้าแต่ยังไม่ส่งมอบ | เมื่อเข้าเกณฑ์
|
2. การขายสินค้าแบบมีเงื่อนไข |
|
2.1 การติดตั้งและตรวจสอบ | ผู้ซื้อยอมรับสินค้าและการติดตั้งเสร็จสิ้นลง หรือเมื่อการติดตั้งที่ง่าย เพื่อการยืนยันตามสัญญา |
2.2 ผู้ซื้อสามารถคืนสินค้าได้ | ผู้ซื้อยอมรับสินค้า หรือเมื่อระยะเวลาคืนสินค้าสิ้นสุดลง |
2.3 การฝากขาย | ผู้รับฝากขายได้ขายสินค้าให้กับบุคคลที่ 3 |
3. การขายสินค้าโดยส่งมอบเมื่อผู้ซื้อชำระเงินครบถ้วน(กิจการมีสินค้าอยู่ในครอบครองและพร้อมที่จะส่งมอบ) | ส่งมอบสินค้าหรือเมื่อได้รับเงินมัดจำส่วนใหญ่ |
4. การขายตามสั่ง (กิจการยังไม่มีสินค้าอยู่ในครอบครอง) | ส่งมอบสินค้า |
5. การขายสินค้าโดยมีสัญญาซื้อคืน | ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทนไปให้ผู้ซื้อแล้ว |
6. ค่าสมาชิกสิ่งตีพิมพ์และรายการที่คล้ายคลึง | โดยวิธีเส้นตรงตลอดอายุการเป็นสมาชิก |
7. ขายตามสัญญาผ่อนชำระ | ณ วันที่ขายไม่รวมดอกเบี้ย และเป็นมูลค่าปัจจุบันของสิ่งตอบแทนและรับรู้ดอกเบี้ยตามเกณฑ์สัดส่วนของเวลาโดยคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดขึ้น |
การรับรู้รายได้ของธุรกิจบริการ | |
ประเภทการขาย | รับรู้รายได้ |
1. ค่าบริการที่รวมอยู่ในราคาขายสินค้า | ทยอยรับรู้รายได้ตลอดระยะเวลาที่มีการให้บริการในรูปของรายได้รอการตั้งบัญชี |
2. ค่าติดตั้ง | ตามขั้นความสำเร็จของงานบริการ |
3. ค่านายหน้าโฆษณา | เมื่อเผยแพร่สู่สาธารณชน |
4. ค่านายหน้าจากการผลิตสื่อ | ตามขั้นตอนความสำเร็จของงาน |
5. ค่านายหน้าประกันภัย | เมื่อวันที่กรมธรรม์ใหม่มีผลบังคับหรือวันที่ต่ออายุ |
6. ค่าผ่านประตู | เมื่องานเสร็จสิ้นลง หากมีการแสดงหลายประเภทให้ปันส่วนให้กับการแสดงแต่ละประเภทตามเกณฑ์ที่เหมาะสม |
7. ค่าเล่าเรียน | ตลอดระยะเวลาที่มีการสอน |
8.ค่าธรรมเนียมในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | ตามขั้นตอนความสำเร็จของการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
|
9. รับเหมาก่อสร้าง | ตามขั้นตอนความสำเร็จของงานก่อสร้าง |
Top 5 Contents

- Transformative Accounting เปลี่ยนโฉมการทำงานบัญชีด้วยเทคโนโลยียุคดิจิทัล
- พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กับ “งานบัญชี” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้
- สัมภาษณ์พิเศษ คุณทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า “Powered by DBD เสริมพลังผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย”
- "การสื่อสาร" ปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรม Feedback และ Coaching
- ธรรมาภรณ์แปดบทชีวิต
- ลูกกระรอกกับต้นมะละกอ