
การควบรวมบริษัทจำกัดมีหลักการอย่างไร
26 มิถุนายน 2567
Q : การควบรวมบริษัทจำกัดมีหลักการอย่างไร ?
เมื่อพูดถึงการควบรวมบริษัทจำกัด จะขอกล่าวถึงหลักกฎหมายตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ดังนี้
ส่วนที่ 9 การควบรวมบริษัทจำกัด
มาตรา 1238 บริษัทจำกัดจะควบรวมกันได้โดยใช้มติพิเศษ
บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป จะควบรวมในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ควบรวมกันโดยเป็นบริษัทขึ้นใหม่ และบริษัทที่มาควบรวมกันต่างหมดสภาพการเป็นนิติบุคคล (2) ควบรวมกันโดยบริษัทหนึ่งบริษัทใดยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคล และบริษัทอื่นที่ควบรวมกันหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล
มาตรา 1239 มติพิเศษซึ่งวินิจฉัยให้ควบรวมบริษัทจำกัด บริษัทต้องนำไปจดทะเบียนภายใน 40 วันนับตั้งแต่วันลงมติ
มาตรา 1240 เมื่อมีมติพิเศษให้ควบรวมบริษัทแล้ว บริษัทต้องมีหนังสือบอกกล่าวมติดังกล่าวภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้มีมติไปยังเจ้าหนี้ของบริษัทตามรายชื่อที่ปรากฏในบัญชีของบริษัท ณ วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้ควบรวมบริษัท โดยกำหนดเวลาให้ส่งคำคัดค้านภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือบอกกล่าวมตินั้น และให้บริษัทโฆษณามตินั้นทางหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายภายในกำหนดเวลา 14 วันนั้นด้วย
มาตรา 1242 เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการควบรวมบริษัทแล้ว ให้นายทะเบียนหมายเหตุไว้ในทะเบียนดังนี้ (1) ในกรณีที่ควบรวมกันเป็นบริษัทขึ้นใหม่ ให้หมายเหตุว่าบริษัทเดิมที่ควบรวมกันนั้นหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล (2) ในกรณีที่ควบรวมกันโดยมีบริษัทใดบริษัทหนึ่งยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคล ให้หมายเหตุว่าบริษัทอื่นที่เหลือนั้นหมดสภาพจากการเป็นนิติบุคคล
มาตรา 1243 บริษัทที่ควบรวมนี้ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบบรรดามีอยู่แก่บริษัทเดิมอันได้มาควบรวมนั้นทั้งสิ้น
สรุปหลักการสําคัญ รวม โอน และควบ
1. รวมกิจการ (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์)
A + B = A หรือ B
- A หรือ B (ที่ถูกนําไปรวม) = - เลิกกิจการโดยผลของกฎหมาย
- ไม่ต้องจดทะเบียนเลิก
- ไม่ต้องชำระบัญชี
- ไม่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี = ถือว่ามีการขายเกิดขึ้น เสียทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT), ภาษี
มูลค่าเพิ่ม (VAT), ภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT) และอากรแสตมป์
- เสียค่าธรรมเนียมการโอน / ในกรณีที่มีการโอนที่สํานักงานที่ดิน
หมายเหตุ จะใช้วิธีนี้เฉพาะในกรณีที่ต้องการลดผลกําไรจากกิจการหนึ่งโดยการ นําผลขาดทุนสะสมของอีกกิจการหนึ่งที่มีมาใช้ จึงมักจะรวมกิจการโดยคงเหลือกิจการที่มีผลขาดทุนสุทธิคงเหลือมาก แต่ต้องรับภาระภาษีต่าง ๆ ในการโอน
2. โอนกิจการทั้งหมด (Entire Business Transfer : EBT)
A โอน B = B
หมายถึง การที่บริษัท A โอนกิจการทั้งหมดของตนไปให้แก่บริษัท B ทําให้บริษัท A สิ้นสภาพ จึงต้องจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการและต้องชําระบัญชี โดยต้องแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากร
- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี = ไม่ถือว่าเป็นการขายและไม่ถือว่าเป็นรายได้ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล, ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT), ได้รับยกเว้นอากรแสตมป์
- เสียค่าธรรมเนียมการโอน ในกรณีที่มีการโอนที่สํานักงานที่ดิน
3. การควบบริษัท (amalgamation) (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ + ประมวลรัษฎากร มาตรา 73 และมาตรา 74 (2))
A + B = C
หมายถึง การรวมกิจการของบริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป รวมเข้าด้วยกัน และเกิดเป็นบริษัทใหม่ (A + B = C) เมื่อควบเข้ากันแล้วจะมีผลให้บริษัทเดิมสิ้นสภาพไปพร้อมกัน โดยที่บริษัทใหม่จะได้ไปทั้งสิทธิและความรับผิดชอบที่บริษัทเดิมมีอยู่
- A และ B = - เลิกกิจการโดยผลของกฎหมาย
- ไม่ต้องจดทะเบียนเลิก
- ไม่ต้องชําระบัญชี
- ทรัพย์สิน, หนี้สิน, ทุน, ผู้ถือหุ้น ต้องมารวมอยู่ที่นิติบุคคลใหม่
- ส่วนกรรมการจะตั้งขึ้นใหม่หรือเป็นกรรมการชุดเดิมบางส่วนก็ได้
- C = - ต้องจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคลขึ้นมาใหม่
- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกันกับกรณีของการโอนกิจการทั้งหมด
- ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนในกรณีที่มีการโอนที่สํานักงานที่ดิน
จบหน้ากระดาษพอดีไว้พบกันใหม่ฉบับหน้าครับ
Top 5 Contents

- Transformative Accounting เปลี่ยนโฉมการทำงานบัญชีด้วยเทคโนโลยียุคดิจิทัล
- พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กับ “งานบัญชี” ที่ผู้ประกอบการต้องรู้
- สัมภาษณ์พิเศษ คุณทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า “Powered by DBD เสริมพลังผู้ประกอบการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย”
- "การสื่อสาร" ปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดวัฒนธรรม Feedback และ Coaching
- ธรรมาภรณ์แปดบทชีวิต
- ลูกกระรอกกับต้นมะละกอ