กำลังโหลด...

×



Accounting คดี STARK มีความคืบหน้าอย่างไร ?

magazine image
Accounting

คดี STARK มีความคืบหน้าอย่างไร ?

บทสรุปคดี STARK ผลการศึกษาข้อมูลคดีฉ้อโกงมีดังนี้ 

คณะอนุกรรมาธิการติดตามและศึกษาคดีฉ้อโกง บริษัท สตารค์ คอรเ์ปอเรช่ัน จำกัด (มหาชน) ในคณะกรรมาธิการการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด สภาผู้แทนราษฎร ได้พิจารณาศึกษาคดีฉ้อโกงบริษัท สตารค์ คอรเ์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมลูต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เอกสารทางวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อมลูจากหน่วยงานหรือบุคคลที่นำเสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการ สรุปผลการศึกษาดังนี้

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) ได้ตรวจสอบพบพยานหลักฐานที่เชื่อได้ว่ามีการกระทำอันเข้าข่ายเป็นความผิดเกี่ยวกับการจัดทำงบการเงินอันเป็นเท็จของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ คือ บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด และบริษัท ไทยเคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จึงส่งเรื่องไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อดำเนินคดี โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษได้สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน พบข้อเท็จจริงว่าบริษัทดังกล่าวจัดทำงบการเงินรวมอันเป็นเท็จอันเป็นการกระทำโดยมีมูลเหตุจูงใจที่ต้องการอาศัยงบการเงินอันเป็นเท็จนำไปหลอกลวงประชาชน ผู้ถือหุ้นกู้ และเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนแบบเฉพาะเจาะจงต่อกลุ่มผู้ลงทุนสถาบัน โดยการหลอกลวงดังว่านั้นทำให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงอันเป็นการฉ้อโกงประชาชนคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประมาณ 14,778 ล้านบาท มีผู้เสียหายที่เป็นผู้ถือหุ้นกู้ 4,692 ราย และผู้ลงทุนสถาบัน 12 ราย จากนั้นพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องบุคคลและนิติบุคคล 11 ราย ได้แก่ (1) นายชนินทร์ เย็นสุดใจ (2) นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ (3) บริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (4) บริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (5) บริษัท อดิสรสงขลา จำกัด (6) บริษัท ไทยเคเบิ้ล อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (7) บริษัท เอเชีย แปซิฟิก ดริลสิ่ง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (8) นางสาวนาตยา ปราบเพชร (9) นายกิตติศักดิ์ จิตต์ประเสริฐงาม (10) นางสาวยสบวร อำมฤต และ (11) นายวนรัชต์ ตั้งคารวคุณ นอกจากนี้ พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง จำนวน 1 ราย คือ นายชินวัฒน์ อัศวโภคี ทั้งนี้ ศาลอาญาได้รับฟ้องและกำหนดวันนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 10 มิถุนายน 2567 ก่อนที่จะมีการสืบพยานและพิจารณาคดีต่อไป ส่วนนายชนินทร์ เย็นสุดใจ DSI ตามสืบกว่า 8 เดือนก่อนคุมตัวกลับสู่ประเทศไทย นอกจากนี้ พนักงานอัยการได้มีคำขอให้ศาลสั่งในส่วนแพ่งโดยขอให้จำเลยทุกรายร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกงจำนวน 14,778 ล้านบาทให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้และผู้ลงทุนสถาบัน และให้นายศรัทธา จันทรเศรษฐเลิศ และนางสาวยสบวร อำมฤต คืนเงินที่ยักยอกไปจากบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอาญา

นอกจากนี้ คณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของบุคคลและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด จำนวน 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกมูลค่าประมาณ 349 ล้านบาท และครั้งที่สองประมาณ 2,500 ล้านบาท รวมมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 2,849 ล้านบาท ซึ่งสำนักงาน ปปง. ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิเพื่อขอรับคืนหรือชดใช้ค่าเสียหายในความผิดมูลฐานรายนายชนินทร์ เย็นสุดใจ กับพวก ซึ่งมีผู้เสียหายมายื่นคำร้องแล้ว

การติดตามทรัพย์สินจากต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย สำนักงาน ปปง. ได้แจ้งคำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมยึดและอายัดทรัพย์สินไปยังต่างประเทศผ่านสำนักงานอัยการคดีระหว่างประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นผู้ประสานงานกลางเพื่อส่งคำร้องขอในการติดตามทรัพย์สินกลับคืนสู่ประเทศไทยผ่านช่องทางความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา (Mutual Legal Assistance : MLA) และประสานความร่วมมือผ่านหน่วยงานกลางด้านข่าวกรองทางการเงิน (Financial Intelligence Unit : FIU) ของประเทศต่าง ๆ เพื่อขอข้อมูลเส้นทางการเงินและการถือครองทรัพย์สินในต่างประเทศ

ส่วนกรณีการฟื้นฟูกิจการของบริษัท เฟ้ลปส์ ดอด์จ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือและเป็นลูกหนี้ของบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มูลค่าหนี้ประมาณ 11,000 ล้านบาท ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 และตั้งบริษัท อีวาย คอร์ปอเรท แอดไวซอรี่ เซอร์วิสเซส จำกัด (EY Corporate Advisory Services Company Limited : EY) เป็นผู้จัดทำแผน โดยเจ้าหนี้ในที่นี้คือบริษัท สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ กรมบังคับคดีแล้ว ซึ่งสำนักงาน ปปง. จะดำเนินการตามกฎหมายฟอกเงินต่อไป

Top 5 Contents