กำลังโหลด...

×



Tax กฎหมายสำคัญต้องพิจารณาเมื่อดำเนินธุรกิจในต่างประเท...

magazine image
Tax

กฎหมายสำคัญต้องพิจารณาเมื่อดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ

เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจลงทุนทำธุรกิจในต่างประเทศ นอกเหนือจากที่จะต้องให้ความสนใจในการประกอบธุรกิจให้ได้กำไรแล้ว ผู้ประกอบการต้องเข้าใจว่าการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศนั้นมีภาระและหน้าที่ตามกฎหมายหลายส่วน ทั้งในแง่ของกฎหมายประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตาม โดยเงื่อนไขข้อกำหนดกฎหมายดังกล่าวในหลาย ๆ ส่วนเป็นประเด็นกฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องให้ความใส่ใจต่อเนื่อง เพื่อป้องกันสิทธิการลงทุนของตนในประเทศนั้น ๆ ให้ได้เต็มประสิทธิภาพ ถูกต้อง และครบถ้วน 

บทความฉบับนี้จะมาสรุปประเด็นกฎหมายที่ผู้ประกอบการที่ลงทุนดำเนินธุรกิจในต่างประเทศต้องให้ความใส่ใจ

1. กฎหมายภาษีของประเทศที่ไปลงทุนดำเนินธุรกิจ

ผู้ประกอบการทุกท่านคงเข้าใจอยู่แล้วว่า กฎหมายภาษีเป็นกฎหมายที่ผู้ประกอบการไม่ว่าทำธุรกิจอยู่ประเทศใดก็หนีไม่พ้น และเช่นเดียวกับกฎหมายอื่น ๆ แต่ละประเทศมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการที่จะกำหนดภาระภาษี อัตราภาษี และเงื่อนไขอื่น ๆ ด้านภาษีได้อย่างอิสระ ผู้ประกอบการจึงต้องทำความเข้าใจภาระภาษีที่ตนมี สิทธิประโยชน์ภาษีที่อาจมี และนำเอาความเข้าใจด้านภาษีดังกล่าวไปใช้เพื่อการวางแผนภาษีอย่างเหมาะสม 

ทั้งนี้ ในกรณีการวางแผนภาษีนั้น ผู้ประกอบการควรปรึกษาที่ปรึกษาด้านกฎหมายภาษีในแต่ละประเทศเป็นหลัก เนื่องจากเงื่อนไขภาษีของแต่ละประเทศย่อมมีความแตกต่างกันไป ผู้ประกอบการไม่สามารถอาศัยข้อสมมุติฐานหรือหลักการของประเทศไทยมาใช้เกี่ยวกับการวางแผนภาษีดังกล่าวได้

หน้าที่เสียภาษี 

โดยหลักการผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีนิติบุคคลในประเทศใดก็ต่อเมื่อได้มีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหรือมี Permanent Establishment (PE) ในประเทศนั้น เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจอยู่ในประเทศใด ผู้ประกอบการย่อมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้งตามหลักกฎหมายสากลที่ใช้ร่วมกันทุกประเทศอยู่แล้ว นอกจากนี้ แม้จะไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งในประเทศนั้น ๆ โดยตรง แต่หากผู้ประกอบการมี Permanent Establishment (PE) ในประเทศใด ผู้ประกอบการย่อมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศนั้นด้วยเช่นกัน

สำหรับนิยามของ PE แม้ว่าแต่ละประเทศจะมีอำนาจกำหนดนิยามและลักษณะของ PE ที่แตกต่างกันไปเป็นการเฉพาะ แต่โดยหลักการของกฎหมายสากลทั่วไป ผู้ประกอบการอาจจะถือว่ามี PE ในประเทศใดประเทศหนึ่งจาก 2 ปัจจัย คือ 

(ก) การมีสถานประกอบการ (Place of Business) รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในประเทศนั้น เช่น การจัดตั้งสำนักงาน โรงงาน สถานที่ประกอบการแบบใดแบบหนึ่ง หรือ 

(ข) การมีตัวแทนที่ดำเนินการแทนผู้ประกอบการนั้น (Dependent Agent) ในการตัดสินใจลงนามและดำเนินธุรกรรมทั้งหมดแทนผู้ประกอบการอยู่ในประเทศนั้น ๆ 

ซึ่งหากผู้ประกอบการถือว่าเข้านิยามการมี PE ในต่างประเทศ ผู้ประกอบการก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศนั้น ๆ ทันทีเช่นกัน

ประเภทภาษีโดยหลัก 

เมื่อมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในประเทศใด ผู้ประกอบการต้องศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับอัตราภาษี การคำนวณภาษี และการยื่นแบบเสียภาษีของประเทศนั้น ๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ซึ่งแน่นอนแต่ละประเทศมีอำนาจในการออกกฎหมายเพื่อกำหนดกรอบการเสียภาษีของผู้ประกอบการในประเทศตนเองได้อย่างอิสระแตกต่างกันสำหรับแต่ละประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม หลักการเบื้องต้นที่ผู้ประกอบการสามารถยึดถือเพื่อเป็นกรอบในการศึกษาหาข้อมูลการเสียภาษีในแต่ละประเทศอาจสรุปเป็นหัวข้อประเภทภาษีหลัก ๆ ได้ดังนี้ 

(ก) การเสียภาษีทางตรง คือ ภาษีโดยตรงที่ผู้ประกอบการต้องชำระสำหรับการสร้างรายได้ และ/หรือกำไรจาก PE ในประเทศนั้น ๆ โดยเฉพาะ เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax) หรือภาษีกำไร (Profit Tax) 

(ข) การหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ หลักการภาษีที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องหักภาษีออกจากจำนวนเงินที่จะมีการชำระให้แก่บุคคลอื่นซึ่งได้รับเงินได้จากผู้ประกอบการ และมีหน้าที่นำส่งภาษีที่หักดังกล่าวให้แก่ภาครัฐ 

(ค) การเสียภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือภาษีการค้า ซึ่งเป็นต้นทุนของราคาในการขายสินค้าและบริการในประเทศนั้น ๆ และเป็นอีกส่วนหนึ่งของหน้าที่ที่ผู้ประกอบการอาจต้องจดทะเบียนเพิ่มเติม รวมถึงต้องนำส่งภาษีทางอ้อมดังกล่าวให้แก่ภาครัฐ 

(ง) การเสียภาษีรูปแบบอื่น ๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง ซึ่งโดยหลักจะประกอบด้วยภาษีด้านเอกสาร เช่นเดียวกับ อากรแสตมป์ (บางประเทศอาจกำหนดการจดทะเบียนสัญญาและการเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนดังกล่าว) ภาษีป้าย ภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น

ภาษีที่ต้องชำระก่อนโอนเงินกลับ

ภาษีอีกส่วนหนึ่งที่ผู้ประกอบการควรให้ความสนใจอย่างมากในการประกอบธุรกิจในต่างประเทศ คือ ภาษีที่ผู้ประกอบการต้องชำระก่อนการโอนเงินส่วนทุนหรือกำไรกลับประเทศไทย ซึ่งโดยหลักกฎหมายประเทศต่าง ๆ มักกำหนดให้มีการคิดภาษีกำไรและ/หรือรายได้จากการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการก่อน และอาจมีการกำหนดให้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ก่อนการโอนทุนหรือกำไรจากการประกอบธุรกิจออกไปประเทศอื่นด้วยเช่นกัน ซึ่งในส่วนของภาษีกรณีดังกล่าวผู้ประกอบการต้องศึกษาให้ชัดเจนเช่นกัน เพราะย่อมกระทบต่อจำนวนเงินที่ผู้ประกอบการจะได้จากการลงทุนในต่างประเทศในท้ายที่สุด

สิทธิประโยชน์ภาษี

เมื่อผู้ประกอบการทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีที่ต้องเสียภายใต้กฎหมายของแต่ละประเทศแล้ว ผู้ประกอบการควรศึกษาละเอียดลงไปถึงสิทธิประโยชน์ภาษีที่แต่ละประเทศอาจประกาศกำหนดด้วยเช่นกัน โดยหลักการประเทศต่าง ๆ มักมีประเภทธุรกิจหรือพื้นที่เศรษฐกิจบางพื้นที่ที่ประเทศต้องการส่งเสริมให้มีการลงทุนในประเทศของตน และหนึ่งในปัจจัยการส่งเสริมจูงใจให้มีการลงทุนในธุรกิจและพื้นที่ดังกล่าว รัฐบาลมักกำหนดให้สิทธิประโยชน์ภาษี ไม่ว่าจะเป็นการยกเว้นภาษีนำเข้า หรือการให้ Tax Holiday ด้วยการยกเว้นการคิดภาษีนิติบุคคลให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจดำเนินธุรกิจในประเภทธุรกิจ และ/หรือพื้นที่ที่ประเทศต้องการส่งเสริม หากผู้ประกอบการเข้าใจสิทธิประโยชน์ภาษีเหล่านี้ ย่อมช่วยให้ผู้ประกอบการมีข้อได้เปรียบในการประกอบธุรกิจในประเทศนั้น ๆ ได้มากขึ้น รวมถึงอาจสามารถวางแผนภาษีได้เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

ภาษีบุคคลธรรมดา 

นอกเหนือจากภาษีนิติบุคคลแล้ว ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจภาษีบุคคลธรรมดาที่ตนเองต้องเสียด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นภาษีบุคคลธรรมดาจากการเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นผู้บริหาร พนักงานของบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งหรือประกอบธุรกิจอยู่ในต่างประเทศดังกล่าว ภายใต้หลักการทั่วไปการที่บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีประเทศใดขึ้นกับปัจจัยหลัก 2 ส่วนคือ 1. ปัจจัยสัญชาติ หรือ 2. ปัจจัยระยะเวลาในการทำงานหรือการประกอบธุรกิจอยู่ในประเทศนั้น ๆ ซึ่งหากผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีในประเทศใด โดยหลักการแล้วประเทศจะกำหนดหน้าที่ในการเสียภาษีบุคคลธรรมดาไว้เป็น 2 ลักษณะหลัก ไม่ว่าในรูปแบบของการยื่นเสียภาษีโดยตรงที่ผู้ประกอบการบุคคลธรรมดานั้นต้องยื่นเสียภาษี หรือรูปแบบที่ผู้ประกอบการบุคคลธรรมดานั้นต้องอยู่ภายใต้บังคับการหักภาษี ณ ที่จ่าย

2. กฎหมายภาษีอากรไทยสำหรับรายได้ที่นำกลับมาในประเทศไทย 

รายได้นำกลับต้องเสียภาษีไทยด้วยเช่นกัน

นอกเหนือจากภาษีของประเทศที่ผู้ประกอบการไปลงทุนแล้ว เมื่อผู้ประกอบการนำเงินทุนหรือกำไรกลับมาในประเทศไทย ผู้ประกอบการอาจอยู่ภายใต้บังคับต้องเสียภาษีตามกฎหมายประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยถือว่าเงินที่นำกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ของบริษัทแม่ในประเทศไทยหรือเป็นรายได้ของผู้ประกอบการบุคคลธรรมดาที่หามาได้

ภาษีบุคคลธรรมดา 

ภายใต้คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.161/2566 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2566 กรมสรรพากรกำหนดว่า บุคคลซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยตามมาตรา 41 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร (หมายถึง ผู้ที่อยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน ในปีภาษีใดก็ตาม) ที่มีเงินได้พึงประเมินเนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ ตามมาตรา 41 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีดังกล่าว และได้นำเงินได้พึงเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีใดก็ตาม ให้บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้องนำเงินได้พึงประเมินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 48 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีที่ได้นำเงินได้พึงประเมินนั้นเข้ามาในประเทศไทย ดังนั้นหากผู้ประกอบการบุคคลธรรมดายังคงทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นจากต่างประเทศ ผู้ประกอบการต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีในประเทศไทยด้วยเสมอ ไม่ว่าจะนำเงินดังกล่าวกลับมาในประเทศไทยในปีภาษีเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ภาระภาษีบุคคลธรรมดาดังกล่าวเป็นอีกปัจจัยของกฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจและปฏิบัติตาม

อนุสัญญาภาษีซ้อน

เงินได้ที่ผู้ประกอบการได้มาจากการลงทุนในต่างประเทศ โดยหลักต้องนำมาคำนวณเพื่อการเสียภาษีในประเทศไทยด้วยเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยหลักการของกฎหมายภาษีสากล รัฐบาลประเทศไทยเองก็พยายามหลีกเลี่ยงประเด็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนของผู้ประกอบการเช่นกัน จึงมีการดำเนินการกลไกการขจัดภาษีซ้อนด้วยการจัดทำสนธิสัญญาระหว่างประเทศกับประเทศต่าง ๆ (Double Tax Agreements) เพื่อกำหนดกรอบในการบรรเทาหรือขจัดปัญหาการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนระหว่างประเทศ ภายใต้หลักการที่ว่ากรณีที่เงินได้ประเภทหนึ่งของบุคคลเจ้าของเงินได้ต้องถูกเสียภาษีที่ประเทศใดมาแล้ว เงินได้จำนวนดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นหรือได้รับการลดอัตราภาษีอากรที่ต้องเสียในอีกประเทศหนึ่งด้วย ทั้งนี้ ก่อนที่ผู้ประกอบการจะประกอบธุรกิจในประเทศใด ผู้ประกอบการควรต้องตรวจสอบด้วยเช่นกันว่าประเทศไทยได้มีการจัดทำสนธิสัญญาขจัดภาษีซ้อนกับประเทศที่ผู้ประกอบการจะไปลงทุนหรือไม่ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์กลไกภาษีที่มีให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยมีอนุสัญญาภาษีซ้อนที่มีผลบังคับใช้แล้วทั้งหมด 61 ประเทศ (อ้างอิงจากข้อมูลในวันที่ 17 พฤษภาคม 2567)

3. กฎหมายอื่นที่ต้องถือปฏิบัติตาม

ในการประกอบธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะเมื่อมีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลและธุรกิจในประเทศใดแล้ว ผู้ประกอบการย่อมอยู่ภายใต้บังคับของเขตอำนาจรัฐของประเทศนั้น ๆ ซึ่งมีสิทธิที่จะออกกฎหมายกำหนดเงื่อนไขหน้าที่ที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการเป็นการเฉพาะได้ โดยถือเป็นหน้าที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการกำหนดโทษ ซึ่งในบางส่วนอาจรวมไปถึงโทษอาญาหรือการเพิกถอนใบอนุญาต ทั้งนี้ กฎหมายหลักที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจในการปฏิบัติตามอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้ 

(1) กฎหมายที่กำหนดเงื่อนไขการขอใบอนุญาตสำหรับการดำเนินกิจการหรือธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น 

(ก) ใบอนุญาตที่ต้องขอเพื่อการประกอบธุรกิจ (Business Sector Operating License) เช่น ใบอนุญาตที่ควบคุมการดำเนินธุรกิจบางประเภทเป็นการเฉพาะ ที่ต้องขอใบอนุญาตก่อนจึงจะสามารถดำเนินกิจการได้ (เช่น ใบอนุญาตประกอบธุรกิจการเงิน หรือสุขภาพ เป็นต้น) สำหรับส่วนของใบอนุญาตประกอบธุรกิจนี้บทความฉบับก่อนหน้าได้ให้ข้อสรุปที่น่าสนใจที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณา โดยถือเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่สำคัญที่ต้องพิจารณาก่อนตัดสินใจลงทุนในต่างประเทศมาแล้ว

(ข) ใบอนุญาตเพื่อการดำเนินกิจกรรมใดเป็นการเฉพาะ (Business Activities License) ซึ่งอาจมีผลบังคับกับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทของผู้ประกอบการ เช่น การขออนุญาตก่อสร้าง การดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental Social Impact Assessment - ESIA) การขออนุญาตตั้งโรงงาน รวมถึงใบอนุญาตด้านสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ใบอนุญาตปล่อยน้ำเสีย เป็นต้น หรือ 

(ค) ใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุน ซึ่งเมื่อมีการออกใบอนุญาตส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ หน่วยงานของรัฐประเทศต่าง ๆ มักจะกำหนดเงื่อนไขเฉพาะที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการตามด้วยเช่นกัน ซึ่งสำหรับกฎหมายประเภทดังกล่าว ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามด้วยการขอใบอนุญาต ต่ออายุใบอนุญาตที่มีกำหนดระยะเวลาให้ครบถ้วนรับประกันความต่อเนื่องขอใบอนุญาต และผู้ประกอบการยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจประกาศกำหนดเพิ่มเติมเป็นเงื่อนไขของใบอนุญาตให้ครบถ้วนด้วยเช่นกัน

(2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้แรงงานหรือการนำเข้าแรงงาน

เนื่องจากการประกอบธุรกิจในต่างประเทศย่อมต้องอาศัยแรงงานทั้งในภายในประเทศ และการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ ผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามเงื่อนไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานให้ครบถ้วน เพื่อให้สามารถว่าจ้างและคุ้มครองแรงงานเหล่านั้นให้ได้ตามกรอบกฎหมายที่กำหนดไว้ และเพื่อความปลอดภัยของแรงงานที่ผู้ประกอบการว่าจ้างไปเพื่อดำเนินงานด้วย โดยกฎหมายดังกล่าวอาจรวมถึงกฎหมายคุ้มครองแรงงาน กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ หรือกฎหมายทั่วไปอื่นที่กำหนดเกี่ยวกับเงื่อนไขการทำงานและสวัสดิการที่ต้องจัดให้แก่แรงงานดังกล่าว กฎหมายการนำเข้าแรงงานต่างประเทศด้วยการขอโควตาการว่าจ้างแรงงานต่างประเทศ การขอวีซ่าสำหรับการเข้าประเทศ (Business Visa) และการขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)

(3) กฎหมายเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยอื่น

นับเป็นอีกกฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจการปฏิบัติตาม เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กฎหมายแข่งขันทางการค้า กฎหมายการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว กฎหมายที่ดิน เป็นต้น ซึ่งในกรณีของกฎหมายประเภทดังกล่าวอาจมีความแตกต่างกันตามแต่ละประเทศ และแตกต่างกันตามประเภทธุรกิจที่ผู้ประกอบการอาจดำเนินการ ทั้งนี้ ก่อนการประกอบธุรกิจในประเทศนั้น ๆ ผู้ประกอบการย่อมควรต้องให้ความสนใจในการปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้นให้ครบถ้วนเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการรับโทษ ซึ่งอาจมีทั้งโทษทางแพ่ง โทษทางปกครอง หรือโทษทางอาญา

4. กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศนั้น ๆ 

ทรัพย์สินทางปัญญาคุ้มครองเฉพาะประเทศที่จดทะเบียน

เพื่อการรับประกันสิทธิในการประกอบธุรกิจในต่างประเทศ ผู้ประกอบการควรพิจารณาถึงกฎหมายที่สำคัญอีกฉบับหนึ่ง คือ กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศที่ไปลงทุน ทั้งนี้ หลักการสากลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญามีอยู่ว่า การจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเป็นไปตามหลักการ Territorial คือ จดทะเบียนที่ประเทศไหนจะได้รับการคุ้มครองที่ประเทศนั้นเป็นหลัก 

ดังนั้นกรณีที่แม้ผู้ประกอบการจะจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทยครบถ้วนแล้ว แต่การจดทะเบียนของประเทศไทยไม่ได้มีผลบังคับในต่างประเทศได้ ในทางกลับกัน ผู้ประกอบการต้องศึกษาและวางแผนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศที่จะไปประกอบธุรกิจให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นประเทศที่จะไปเปิดตลาดขายสินค้าหรือบริการ หรือประเทศที่จะมีการจ้างผลิตสินค้าหรือบริการดังกล่าว ปัจจุบันยังไม่มีกลไกพิเศษในการที่ผู้ประกอบการจะสามารถนำทะเบียนของประเทศไทยไปยื่นจดทะเบียนกับหน่วยงานต่างประเทศได้ด้วยกลไก Fast Track ผู้ประกอบการยังต้องมีหน้าที่จัดทำเอกสารและดำเนินการตามกลไกเงื่อนไขเฉพาะที่แต่ละประเทศกำหนดเฉพาะ แต่อย่างไรก็ตาม ในการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันมีเพียงกลไกสนธิสัญญาระหว่างประเทศ สำหรับการจดทะเบียนสิทธิบัตรผ่านกลไกอนุสัญญากรุงปารีส และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผ่านกลไกอนุสัญญามาดริด ซึ่งมีกลไกที่จะช่วยสนับสนุนในการส่งคำร้องขอยื่นจดทะเบียนให้สามารถดำเนินการเพียงครั้งเดียว และเอกสารดังกล่าวจะได้รับการอำนวยความสะดวกในการส่งไปให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานประเทศอื่น ๆ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม การยื่นเอกสารคำร้องผ่านกลไกสนธิสัญญานั้นไม่ได้เป็นกลไกที่รับประกันว่า การยื่นคำร้องนั้นจะได้รับการอนุมัติโดยหน่วยงานของประเทศนั้น ๆ ผู้ประกอบการยังคงต้องวางแผนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเภทที่ประกอบธุรกิจอยู่

การคุ้มครองในแง่ความลับทางการค้า

นอกจากกลไกการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาในแต่ละประเทศที่ไปลงทุนแล้ว การคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ประกอบการที่ดีที่สุดและสามารถบังคับใช้ได้อย่างแน่นอน คือ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาผ่านกลไกการคุ้มครองความลับทางการค้า (Trade Secret) ด้วยการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงการรักษาความลับระหว่างคู่สัญญา โดยในการจัดทำสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าว คู่สัญญาสามารถตกลงให้ใช้กฎหมายของประเทศใดเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับก็ได้ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจ ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้กฎหมายประเทศไทยเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับ (Governing Law) ได้เช่นกัน ส่วนกลไกในการร้องเรียนเพื่อแก้ไขข้อพิพาทนั้น โดยหลักการการฟ้องร้องต้องดำเนินการที่ศาลที่มีเขตอำนาจ คือ ศาลที่เป็นเขตภูมิลำเนาของจำเลยหรือเขตที่เกิดสัญญา ดังนั้นกรณีการแก้ไขข้อพิพาท โดยหลักอาจต้องเป็นศาลประเทศที่ผู้ประกอบการไปประกอบธุรกิจ เว้นคู่สัญญาอาจตกลงกันให้ดำเนินการแก้ไขข้อพิพาทด้วยอนุญาโตตุลาการในประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งอาจรวมถึงประเทศไทยก็ได้ ซึ่งกรณีนั้นข้อตกลงของคู่สัญญาจะได้รับการบังคับโดยอนุญาโตตุลาการที่คู่สัญญาเลือก

5. การโอนเงินต่างประเทศ

กฎหมายส่วนสุดท้ายที่ผู้ประกอบการควรต้องให้ความสนใจศึกษาและปฏิบัติตามก็คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรับเงินเข้า-โอนเงินออกต่างประเทศของประเทศต้นทางที่ผู้ประกอบการไปลงทุน และกฎหมายสำหรับการโอน-รับเงินจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยภายใต้กรอบกฎหมายประเทศไทย เพื่อรับประกันว่าเงินที่โอนเข้าไปจะได้รับการยอมรับและรับทราบโดยหน่วยงานรัฐ เพื่อให้สามารถนำออกมาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามกลไกเพื่อการนำเงินเข้าไปในประเทศที่ไปลงทุนให้ถูกกฎหมาย ทั้งนี้ อาจต้องมีกลไกการขออนุญาตหรือการยืนยันการนำทุนเข้าในประเทศนั้น ซึ่งหากมีก็ต้องดำเนินการให้ครบถ้วนเพื่อให้ไม่มีประเด็นปัญหาเวลานำเงินออก ทั้งนี้ หลักในการโอนเงินออกนอกประเทศ ผู้ประกอบการต้องดำเนินการจัดทำเอกสารเพื่อรองรับเงินจำนวนที่จะโอนออกให้ถูกต้องตามหลักการเช่นกัน และกรณีของกฎหมายประเทศไทย ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญกับกฎหมายคุ้มครองเงินที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต้องดำเนินการขออนุญาตและนำเสนอหลักฐานให้ถูกต้องครบถ้วนเช่นกัน โดยที่ควรดำเนินธุรกรรมการโอนทั้งหมดผ่านบัญชีธนาคารแทนการใช้เงินสด ซึ่งอาจมีปัญหากฎหมายอื่นนอกเหนือจากกฎหมายคุ้มครองการโอนเงินตราต่างประเทศที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณา เช่น กฎหมายศุลกากร เป็นต้น

บทความนี้มีจุดประสงค์สรุปประเด็นกฎหมายหลักที่เป็นหลักกฎหมายทั่วไปที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญ สำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องยั่งยืนในประเทศนั้น ๆ แต่ทั้งนี้ แต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างและพิเศษในการกำหนดเงื่อนไขออกกฎหมายเฉพาะประเภทอื่น ๆ เพื่อบังคับใช้กับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศของตน นอกเหนือจากหลักการสากลที่ระบุหัวข้อไว้ในบทความฉบับนี้ได้ ดังนั้นผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในการปรึกษากฎหมายดังกล่าวให้รอบด้าน

นอกจากนี้ บทความนี้ยังนำเสนอประเด็นของกฎหมายประเทศไทยที่อาจเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการในต่างประเทศด้วยเช่นกัน โดยผู้ประกอบการต้องเข้าใจว่า แม้จะเป็นการประกอบธุรกิจอยู่ต่างประเทศ แต่ท้ายที่สุดด้วยเหตุที่บริษัทแม่และผู้ประกอบการดังกล่าวหากยังมีสัญชาติไทยอยู่ กฎหมายประเทศไทยก็ยังเป็นส่วนที่ผู้ประกอบการต้องศึกษาและปฏิบัติตามอยู่เช่นเดิม

Top 5 Contents
SettingsRequest history8.3.13PHP Version291msRequest Duration10MBMemory UsageGET article/{id}
status
200 OK
full_url
https://uat-ca.dst.co.th/article/806
action_name
guest.article
controller_action
App\Http\Controllers\guest\ArticleController@page
Theme
Open Button Position
Hide Empty Tabs
Autoshow
Reset to defaults
status
200 OK
full_url
https://uat-ca.dst.co.th/article/806
action_name
guest.article
controller_action
App\Http\Controllers\guest\ArticleController@page
uri
GET article/{id}
controller
App\Http\Controllers\guest\ArticleController@page
prefix
/article
file
app/Http/Controllers/guest/ArticleController.php:24-146
middleware
web, check.trial.expire
duration
293ms
peak_memory
14MB
response
text/html; charset=UTF-8
request_format
html
request_query
[]
request_request
[]
request_headers
0 of 0
array:21 [ "host" => array:1 [ 0 => "uat-ca.dst.co.th" ] "x-forwarded-for" => array:1 [ 0 => "3.145.0.168" ] "x-forwarded-host" => array:1 [ 0 => "uat-ca.dst.co.th" ] "x-forwarded-port" => array:1 [ 0 => "443" ] "x-forwarded-proto" => array:1 [ 0 => "https" ] "x-forwarded-server" => array:1 [ 0 => "uat-ca.dst.co.th" ] "x-real-ip" => array:1 [ 0 => "3.145.0.168" ] "pragma" => array:1 [ 0 => "no-cache" ] "cache-control" => array:1 [ 0 => "no-cache" ] "sec-ch-ua" => array:1 [ 0 => ""Chromium";v="130", "HeadlessChrome";v="130", "Not?A_Brand";v="99"" ] "sec-ch-ua-mobile" => array:1 [ 0 => "?0" ] "sec-ch-ua-platform" => array:1 [ 0 => ""Windows"" ] "upgrade-insecure-requests" => array:1 [ 0 => "1" ] "user-agent" => array:1 [ 0 => "Mozilla/5.0 AppleWebKit/537.36 (KHTML, like Gecko; compatible; ClaudeBot/1.0; +claudebot@anthropic.com)" ] "accept" => array:1 [ 0 => "text/html,application/xhtml+xml,application/xml;q=0.9,image/avif,image/webp,image/apng,*/*;q=0.8,application/signed-exchange;v=b3;q=0.7" ] "sec-fetch-site" => array:1 [ 0 => "none" ] "sec-fetch-mode" => array:1 [ 0 => "navigate" ] "sec-fetch-user" => array:1 [ 0 => "?1" ] "sec-fetch-dest" => array:1 [ 0 => "document" ] "priority" => array:1 [ 0 => "u=0, i" ] "x-https" => array:1 [ 0 => "1" ] ]
request_cookies
[]
response_headers
0 of 0
array:3 [ "content-type" => array:1 [ 0 => "text/html; charset=UTF-8" ] "cache-control" => array:1 [ 0 => "no-cache, private" ] "date" => array:1 [ 0 => "Thu, 08 May 2025 11:01:52 GMT" ] ]
session_attributes
0 of 0
array:2 [ "_token" => "pi0rSZqMYVRZvq4UYxrNkQm1vtgfFltZ09Na1uki" "show_interest_modal" => false ]
    • Booting (178ms)time
    • Application (113ms)time
    • Routing (3.47ms)
    • Preparing Response (38.97ms)
    • 1 x Booting (61.28%)
      178ms
      1 x Application (38.72%)
      113ms
      1 x Preparing Response (13.4%)
      38.97ms
      1 x Routing (1.19%)
      3.47ms
      13 templates were rendered
      • guest.articlearticle.blade.php#?blade
      • components.right-bannerright-banner.blade.php#?blade
      • components.relate-contentsrelate-contents.blade.php#?blade
      • components.top5top5.blade.php#?blade
      • guest.layouts.appapp.blade.php#?blade
      • guest.layouts.headerMetaTagheaderMetaTag.blade.php#?blade
      • guest.layouts.headerStylesheaderStyles.blade.php#?blade
      • guest.layouts.headerScriptsheaderScripts.blade.php#?blade
      • guest.componants.preloadpreload.blade.php#?blade
      • components.navbarnavbar.blade.php#?blade
      • components.home-side-menuhome-side-menu.blade.php#?blade
      • components.interest-modalinterest-modal.blade.php#?blade
      • guest.layouts.footerfooter.blade.php#?blade
      uri
      GET article/{id}
      middleware
      web, check.trial.expire
      controller
      App\Http\Controllers\guest\ArticleController@page
      prefix
      /article
      as
      guest.article
      file
      app/Http/Controllers/guest/ArticleController.php:24-146
      14 statements were executed (2 duplicates)Show only duplicates12.4ms
      • CheckExpiredOrders.php#21uatca_dbConnection Established
        Backtrace
        • app/Http/Middleware/CheckExpiredOrders.php:21
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Pipeline/Pipeline.php:183
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Middleware/SubstituteBindings.php:50
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Pipeline/Pipeline.php:183
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Foundation/Http/Middleware/VerifyCsrfToken.php:78
      • CheckExpiredOrders.php#21uatca_dbBegin Transaction
        Backtrace
        • app/Http/Middleware/CheckExpiredOrders.php:21
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Pipeline/Pipeline.php:183
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Middleware/SubstituteBindings.php:50
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Pipeline/Pipeline.php:183
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Foundation/Http/Middleware/VerifyCsrfToken.php:78
      • CheckExpiredOrders.php#26uatca_db1.57msselect * from `orders` where `status` = 'pending' and `created_at` <= '2025-05-01 18:01:52'
        Bindings
        • 0: pending
        • 1: 2025-05-01 18:01:52
        Backtrace
        • app/Http/Middleware/CheckExpiredOrders.php:26
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Pipeline/Pipeline.php:183
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Middleware/SubstituteBindings.php:50
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Pipeline/Pipeline.php:183
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Foundation/Http/Middleware/VerifyCsrfToken.php:78
      • CheckExpiredOrders.php#51uatca_dbCommit Transaction
        Backtrace
        • app/Http/Middleware/CheckExpiredOrders.php:51
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Pipeline/Pipeline.php:183
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Middleware/SubstituteBindings.php:50
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Pipeline/Pipeline.php:183
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Foundation/Http/Middleware/VerifyCsrfToken.php:78
      • AppController.php#415uatca_db5.17msselect * from `contents` where `seo_url_slug` = '806' or `id` = '806' limit 1
        Bindings
        • 0: 806
        • 1: 806
        Backtrace
        • app/Http/Controllers/AppController.php:415
        • app/Http/Controllers/guest/ArticleController.php:27
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Controller.php:54
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/ControllerDispatcher.php:43
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Route.php:259
      • AppController.php#415uatca_db310μsselect * from `content_categories` where `content_categories`.`id` in (1)
        Backtrace
        • app/Http/Controllers/AppController.php:415
        • app/Http/Controllers/guest/ArticleController.php:27
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Controller.php:54
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/ControllerDispatcher.php:43
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Route.php:259
      • AppController.php#415uatca_db170μsselect * from `content_sub_categories` where `content_sub_categories`.`id` in (7)
        Backtrace
        • app/Http/Controllers/AppController.php:415
        • app/Http/Controllers/guest/ArticleController.php:27
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Controller.php:54
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/ControllerDispatcher.php:43
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Route.php:259
      • AppController.php#415uatca_db170μsselect * from `contributors` where `contributors`.`id` in (13)
        Backtrace
        • app/Http/Controllers/AppController.php:415
        • app/Http/Controllers/guest/ArticleController.php:27
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Controller.php:54
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/ControllerDispatcher.php:43
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Route.php:259
      • ArticleController.php#93uatca_db200μsselect * from `content_categories` where `status` = 1
        Bindings
        • 0: 1
        Backtrace
        • app/Http/Controllers/guest/ArticleController.php:93
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Controller.php:54
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/ControllerDispatcher.php:43
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Route.php:259
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Routing/Route.php:205
      • RightBanner.php#25uatca_db400μsselect * from `banner_rights` limit 1
        Backtrace
        • app/View/Components/RightBanner.php:25
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Component.php:135
        • view::guest.article:462
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Filesystem/Filesystem.php:124
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Engines/PhpEngine.php:58
      • RelateContents.php#36uatca_db690μsselect * from `contents` where `category_id` = 1 and `id` not in (806) and `is_publish` = 1 order by `id` desc limit 4
        Bindings
        • 0: 1
        • 1: 806
        • 2: 1
        Backtrace
        • app/View/Components/RelateContents.php:36
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Component.php:135
        • view::guest.article:482
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Filesystem/Filesystem.php:124
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Engines/PhpEngine.php:58
      • RelateContents.php#37uatca_db230μsselect * from `content_categories` where `content_categories`.`id` = 1 limit 1
        Bindings
        • 0: 1
        Backtrace
        • app/View/Components/RelateContents.php:37
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Component.php:135
        • view::guest.article:482
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Filesystem/Filesystem.php:124
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Engines/PhpEngine.php:58
      • Top5.php#25uatca_db240μsselect * from `banner_top5`
        Backtrace
        • app/View/Components/Top5.php:25
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Component.php:135
        • view::guest.article:502
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Filesystem/Filesystem.php:124
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Engines/PhpEngine.php:58
      • Top5.php#25uatca_db2.58msselect `contents`.*, `banner_top5_content`.`banner_id` as `pivot_banner_id`, `banner_top5_content`.`content_id` as `pivot_content_id`, `banner_top5_content`.`order` as `pivot_order` from `contents` inner join `banner_top5_content` on `contents`.`id` = `banner_top5_content`.`content_id` where `banner_top5_content`.`banner_id` in (1, 2, 3, 4, 5) order by `pivot_order` asc
        Backtrace
        • app/View/Components/Top5.php:25
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Component.php:135
        • view::guest.article:502
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Filesystem/Filesystem.php:124
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Engines/PhpEngine.php:58
      • HomeSideMenu.php#25uatca_db210μsselect * from `banner_lefts` limit 1
        Backtrace
        • app/View/Components/HomeSideMenu.php:25
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Component.php:135
        • view::guest.layouts.app:49
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Filesystem/Filesystem.php:124
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Engines/PhpEngine.php:58
      • InterestModal.php#25uatca_db250μsselect * from `content_categories`
        Backtrace
        • app/View/Components/InterestModal.php:25
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Component.php:135
        • view::guest.layouts.app:74
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Filesystem/Filesystem.php:124
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Engines/PhpEngine.php:58
      • interest-modal.blade.php#2uatca_db210μsselect * from `content_categories`
        Backtrace
        • view::components.interest-modal:2
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/Filesystem/Filesystem.php:124
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Engines/PhpEngine.php:58
        • vendor/livewire/livewire/src/Mechanisms/ExtendBlade/ExtendedCompilerEngine.php:22
        • vendor/laravel/framework/src/Illuminate/View/Engines/CompilerEngine.php:72
      App\Models\Admin\Content
      31Content.php#?
      App\Models\ContentCategory
      20ContentCategory.php#?
      App\Models\Admin\BannerTop5
      5BannerTop5.php#?
      App\Models\ContentSubCategory
      1ContentSubCategory.php#?
      App\Models\Admin\Contributor
      1Contributor.php#?
      App\Models\Admin\BannerRight
      1BannerRight.php#?
      App\Models\Admin\BannerLeft
      1BannerLeft.php#?
          _token
          pi0rSZqMYVRZvq4UYxrNkQm1vtgfFltZ09Na1uki
          show_interest_modal
          false
          ClearShow all
          Date ↕MethodURLData
          #12025-05-08 18:01:52GET/article/806131460